วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

วัดป่าเลไลย์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี

                        วัดป่าเลไลยก์ อำเภอเมือง
กล่าวกันเสมอมาว่า ถ้ามาเมืองสุพรรณ แล้วไม่ได้แวะมากราบไหว้หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ ก็เหมือนมาไม่ถึงเมืองสุพรรณ
ด้วยที่วัดป่าเลไลยก์เป็นวัดสำคัญ คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดสุพรรณ เป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เป็นสถานที่หนึ่งในวรรณคดีเรื่อง ขุนช้าง-ขุนแผน
ในช่วงวันหยุดจะมีผู้คนมากมายมากราบไหว้ขอพร และยิ่งเป็นวันหยุดยาว จะเป็นที่ที่คนนิยมมากเป็นอันดับต้นๆของจังหวัดสุพรรณ
ถ้าหากมีโอกาสมาเมืองสุพรรณ สถานที่แรกที่ไม่ควรผ่านเลย... แวะชมความงดงามขอหลวงพ่อโต และกราบไหว้เพื่อเป็นศิริมงคล




ประวัติวัดป่าเลไลยก์
เป็นวัดเก่าแก่ สันนิษฐานว่ามีอายุราว 1200 ปี ตั้งอยู่ริมถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง
อยู่ทางฝั่งตะวันตกของลำน้ำสุพรรณ ห่างจากศาลากลางจังหวัด ประมาณ 4 กิโลเมตร
ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า
วัดป่า ภายในวิหาร เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโต ปางป่าเลไลยก์
ในพงศาวดารเหนือกล่าวว่า ...พระเจ้ากาเตทรงให้มอญน้อย มาบูรณะวัดป่าเลไลยก์ ภายหลังปี พ.ศ. 1724 เล็กน้อย
หลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ศิลปะสมัยอู่ทอง สุพรรณภูมิ (คือประทับนั่งห้อยพระบาท) มีนักปราชญ์หลายท่านว่า เดิมคงเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา สร้างไว้กลางแจ้งอย่างพระพนัญเชิงสมัยแรกต่อมาได้มีการบูรณะ ซ่อมแซมใหม่ และทำเป็นปางป่าเลไลยก์ ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ภายในองค์พระพุทธรูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ 36 องค์ ที่ได้มาจากพระมหาเถรไลยลาย

วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุพรรณบุรี ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณบุรี หรือท่าจีน ห่างจากฝั่งประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เนื้อที่กว้าง 82 ไร่ 1 งาน มีโบราณสถานอันเป็นประธานของวัด คือ พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ซึ่งเรียกกันว่า “ หลวงพ่อโตวัดป่าไลไลยก์”

ตามหลักฐานเดิมสันนิษฐานกันว่า มีอายุในราวสมัยอู่ทอง เนื่องด้วยขณะนั้น ยังไม่ได้มีการศึกษาค้นคว้า จึงเชื่อกันอย่างนั้นเรื่อยมา เมื่อมีการศึกษาค้นคว้าในระยะหลังๆ ทำให้ทราบได้ว่า วัดป่าเลไลยก์น่าจะมีอายุไม่น้อยกว่า 1000 ปีขึ้นไป โดยมีหลักฐานต่างๆ จากโบราณวัตถุเป็นข้อสนับสนุน อ้างอิง เพียงพอที่จะตั้งเป็นสมมติฐานใหม่ขึ้นได้

หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ เป็นพระก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่ มีความสูงถึง 23.47 เมตร สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีลายพระหัตถ์ถึงศาสตราจารย์หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยศิลปากรว่า “พระพุทธรูปป่าเลไลยก์ เป็นของเก่าก่อนวัตถุอื่น ลักษณะทันสมัยอู่ทอง และสร้างเป็นพระพุทธรูปปางแสดงพระธรรมจักรเหมือนอย่างพระประทานที่พระปฐมเจดีย์ มีกุฏิครอบเฉพาะองค์พระ มาร้างวิหารต่อชั้นหลัง ส่วนองค์พระนั้นเคยชำรุดถึงพระกรหักหาย คนชั้นหลังปฏิสังขรณ์ เมื่อมีความรู้เรื่องพระแสดงปฐมเทศนาสูญเสียแล้วจึงทำเป็นปางป่าเลไลยก์ ความกล่าวในข้อนี้ยังมีข้อสังเกตด้วยพระกรเล็กกว่ากันเกือบข้างหนึ่ง และซุ้มเดิมที่สร้างวิหารก็ยังปรากฏอยู่ “

ตามที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระวินิจฉัยว่า หลวงวัดป่าเลไลยก์ มีอายุทันสมัยอู่ทองนั้นมีความจริงอยู่บ้าง โดยความเป็นจริงแล้วอาจจะสูงกว่าสมัยอู่ทองขึ้นถึงสมันลพบุรีและทวารวดีเสียด้วยซ้ำไป เมื่อ พ.ศ . 1706 พระเจ้ากระแต ผู้ซึ่งมีเชื้อสายนเรศวรหงสาววดีพาไพรพลมาครองราชย์ที่เมืองพันธุมบุรี ได้ให้มอญน้อยเป็นเชื้อสายพระวงศ์ของพระองค์ ไปสร้างวัดสนามไชยแล้วมาบูรณะ วัดป่าเลไลยก์ในวัดลานมะขวิด แขวงเมืองพันธุมบุรี เมื่อข้าราชการบูรณะวัดแล้วพากันออกบวชเสียสิ้นสองพันคน จึงขนานนามเมืองใหม่ว่า “เมืองสองพันบุรี” พระเจ้ากาแตอยู่ในราชสมบัติ 40 ปี สวรรคต พ.ศ.1741 ซึ่งในช่วงนี้อยู่ในสมัยลพบุรี

โดยพุทธลักษณะของหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์แล้ว พระพักตร์มีเค้าเป็นศิลปะอู่ทองกลาย ๆ เพราะพระหนุ (คาง) เป็นเหลี่ยม ความเป็นจริงแล้วพระหนุเป็นเหลี่ยม นี่ส่อเค้าให้เห็นว่าได้รับอิทธิพลถ่ายทอดมาจากศิลปะทวารวดี

หลวงพ่อวัดป่าเลไลยก์ได้รับการบูรณะถึง 3 ครั้ง ครั้งแรก เมือ พ.ศ.1706 โดยมอญน้อย ครั้งที่ 2 ในสมัยอยุธยาตอนปลาย สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์ อมรินทร์ ในราชกาลที่ 3 กษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงปโปรดให้พระยาสีหราชเดโชไชย ไปสร้างวิหารวัดป่าเลไลยก์ ครั้งที่ 3 ในราชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้พระยานิกรบดินทร์ มาบูรณะปฏิสังขรณ์

การบูรณปฏิสังขรณ์ในราชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์นั้น อันสืบเนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในขณะที่ยังไม่ได้ครองราชย์ พระองค์ทรงผนวชเสด็จธุดงค์มาจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อนมัสการหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลกย์ ทรงพบเห็นวัดป่าเลไลยก์รกร้าง ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา และปกครองวัด จึงทำให้สภาพของวัดป่าเลไลยก์เสื่อมโทรมมาก เมื่อเข้านมัสการหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ แล้วทรงอธิษฐานว่า ถ้าหากได้ขึ้นครองราชย์เมื่อไดก็จะมาบูรณะปฏิสังขรณ์ถวาย เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์ในช่วงของการครองราชย์ โปรดเกล้าให้พระยานิกรบดินทร์มาบูรณะปฏิสังขรณ์วัดป่าเลไลยก์ โดยขุดคลองตั้งแต่วัดประตูสาร ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำสุพรรณ ล่องแพซุงเข้าไปจนถึงวัดป่าเลไลยก์ สร้างหลังคาข้างละสองชั้น ทำฝาผนังรอบนอก รวมหลังคาพระวิหาร ข้างละ 5 ชั้น พร้อมซ่อมองค์หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ด้วย สร้างพระพุทธรูปไว้อีก 2 องค์ อยู่ในวิหารเบื้องหน้าหลวงพ่อวัดป่าเลไลยก์ทั้งซ้ายและขวา ประดิษฐานตราพระมงกุฏอยู่ที่หน้าบันพระวิหารเป็นเครื่องหมาย
http://www.watpasuphan.com




ภาพเขียนเรื่องราว ขุนช้าง-ขุนแผน
รอบๆ วิหารของหลวงพ่อโต มีจิตรกรรมฝาผนัง
เล่าเรื่องราวของขุนช้าง-ขุนแผน
ตั้งแต่เริ่มเรื่อง จนถึงตอนสุดท้าย
เป็นภาพที่สวยงาม และได้ความรู้
วัดป่าเลไลยก์ มีความเกี่ยวข้องกับวรรณคดี
อันลือชื่อของไทย คือ เสภาขุนช้างขุนแผน
นิราศเมืองสุพรรณของสุนทรภู่
ปัจจุบัน วัดป่าเลไลยก์ มีสถานะเป็น
พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร




เรือนขุนช้าง เป็นเรือนไทยแบบโบราณ ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดป่าเลไลยก์ สร้างเป็นเรือนไทยไม้สักหลังใหญ่กว้างขวาง ตามเรือนของขุนช้างในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ขึ้นไปบนเรือนจะเห็นภาพวาดตัวละครขุนช้าง
นักท่องเที่ยวสามารถถ่ายรูปเป็นที่ระลึก แต่ละห้องจะมีภาพบรรยายเล่าเรื่องขุนช้างขุนแผน มีการจัดแสดงเครื่องใช้ต่างๆในสมัยก่อน มีการตกแต่บริเวณโดยรอบสวยงามน่าเที่ยวชม
เสภาขุนช้างขุนแผน เมื่อนางทองประศรี
พาพลายแก้วไปอยู่เมืองกาญจน์เก็บหอมรอมริบ
จนกระทั่งมีฐานะเป็นเศรษฐี และเมื่อพลายแก้วเติบโต
ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรและได้มาเรียนคาถาอาคม
พร้อมกับเทศน์มหาชาติ กับสมภารมีแห่งวัดป่าเลไลยก์
เพื่อเป็นการอนุรักษ์เรื่องราวดีๆ ทางวัดป่าเลไลยก์
ได้จัดให้มีเทศน์มหาชาติขึ้นเป็นประจำทุกปี
และสร้างเรือนขุนช้าง เป็นเรือนไทย ไม้สัก
เพื่อให้ลูกหลานได้ทัศนศึกษาสืบต่อไป.......



ภายในบริเวณวัด ยังเป็นศูนย์รวมจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองของเมืองสุพรรณ ปลาสลิดดอนกำยาน ปลาแม่น้ำ ปลาแดดเดียว พืชผักผลไม้ และน้ำพริกก็มีให้เลือกหลากหลายชนิด รา

วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดป่าเลไลยก์
“หลวงพ่อโต”
วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ ตั้งอยู่ที่ ถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรีอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณบุรีชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า วัดป่า ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโตปางป่าเลไลยก์เดิมหลวงพ่อโตเป็นพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ต่อมาได้มีการบูรณะและทำเป็นปางป่าเลไลยก์ ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
วัดป่าเลไลยก์วรวิหารเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ระดับวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่หน้าบันของวิหารวัดป่าเลไลยก์มีเครื่องหมายพระมหามกุฎอยู่ระหว่างฉัตรคู่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จธุดงค์มาพบสมัยยังผนวชอยู่ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วจึงทรงมาปฏิสังขรณ์
วัดป่าเลไลยก์วรวิหารสร้างในสมัยที่เมืองสุพรรณบุรีรุ่งเรือง ในพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระเจ้ากาแตทรงให้มอญน้อยมาบูรณะวัดป่าเลไลยก์ภายหลัง พ.ศ. 1724
ประชาชนมานมัสการ “หลวงพ่อโต” ซึ่งประดิษฐานอยู่ในวิหารสูงเด่นเห็นแต่ไกล เป็นพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ศิลปะสมัยอู่ทองสุพรรณภูมิ องค์พระสูง 23.46 เมตร รอบองค์ 11.20 เมตร ภายในองค์พระพุทธรูปนี้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากพระมหาเถรไลยลาย จำนวน 36 องค์คาถูก


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น